4 สูตร น้ำมันนวดสมุนไพร เลือกใช้อย่างไรให้ถูกอาการ

คลิกเลือกอ่านหัวข้อ

ปัจจุบัน น้ำมันนวดจากสมุนไพรในท้องตลาดมีมากมายให้เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็น ยาน้ำมันเขียว ยาน้ำมันเหลือง หรือยาน้ำมันเลียงผา ที่นิยมนำมาใช้นวดแก้เคล็ดขัดยอก แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือใช้นวดคลายเส้น ซึ่งผลิตภัณฑ์น้ำมันนวดจากสมุนไพรเหล่านี้หลายคนมักเข้าใจว่าแต่ละสูตรที่พบเห็นนั้นมีสรรพคุณที่ไม่ต่างกันมากและสามารถใช้ทดแทนกันได้ จึงทำให้บ่อยครั้งใช้แล้วไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร บรรเทาอาการได้ไม่ตรงจุด หรือแม้กระทั่งกลิ่นไม่ถูกใจเนื่องจากส่วนผสมของสมุนไพรที่แตกต่างกันไปในแต่ละสูตร  

เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถเลือกใช้ยาน้ำมันนวดสมุนไพรได้อย่างตรงใจและถูกอาการ วันนี้ ห้าม้าโอสถ จึงมีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการเลือกน้ำมันนวดสมุนไพรมาฝาก พร้อมกับน้ำมันนวด 4 สูตรยอดนิยมและวิธีใช้ที่แนะนำ รับรองว่าเลือกซื้อครั้งหน้าไม่มีพลาดแน่นอน ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจลักษณะการใช้งานของยาน้ำมันนวดกันก่อนเลย!

การใช้น้ำมันนวดสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

น้ำมันนวดคลายเส้น หรือยาน้ำมันนวด ถูกจัดอยู่ในหมวดยาแผนโบราณหรือยาสมุนไพร ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้ทาภายนอกสำหรับการบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ข้อต่อ หรืออาการไม่สบายอื่น ๆ ที่เกิดจากการตึงตัวหรืออักเสบของเนื้อเยื่อ ยาน้ำมันนวดมักมีลักษณะเป็นของเหลวที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรและน้ำมันพื้นฐาน เช่น น้ำมันงา น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันเขียว รวมทั้งน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการและให้กลิ่นหอมผ่อนคลาย 

อาการแบบไหนที่น้ำมันนวดสมุนไพรช่วยได้

น้ำมันนวดสมุนไพร สามารถใช้บรรเทาอาการภายนอกได้หลายประการ เช่น

  • บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นที่ยึดตึง เช่น อาการปวดหลัง ปวดคอ บ่า และไหล่ หรืออาการออฟฟิศซินโดรมจากการทำงานหนัก
  • บรรเทาอาการปวด บวม คัน จากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ลดอาการบวมและฟกช้ำ
  • บรรเทาอาการเคล็ดขัดยอกและเหน็บชา
  • อาการปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออักเสบ ตะคริวหรืออาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกาย
  • สูดดมบรรเทาอาการปวดหัว วิงเวียนศีรษะ บรรเทาอาการคัดจมูก หรือใช้ทาขมับคลายเครียด ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต

น้ำมันนวดสมุนไพร ควรเลือกใช้อย่างไรดี?

การเลือกใช้น้ำมันนวดสมุนไพรให้ถูกอาการมากที่สุด สามารถพิจารณาได้ดังนี้

1. เลือกตามหลักการใช้งาน

การใช้น้ำมันนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดต่างๆ สามารถเลือกได้ทั้งสูตรร้อนและสูตรเย็น โดยสูตรร้อนจะเหมาะสำหรับอาการปวดตึงกล้ามเนื้อเรื้อรัง หรือมีอาการมานานกว่า 48 ชั่วโมง เช่น อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา การยกของหนัก เคล็ดขัดยอก เป็นต้น โดยฤทธิ์ร้อนจะช่วยทำให้หลอดเลือดขยายตัวและมีการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น จึงช่วยบรรเทาอาการปวดให้ลดลงได้ ซึ่งยาน้ำมันนวดประเภทนี้มักมีส่วนผสมของสมุนไพรฤทธิ์ร้อน เช่น น้ำมันระกำ หรือสารสกัดจากพริก  ส่วนน้ำมันนวดสูตรเย็นจะเหมาะสำหรับอาการปวดบวมแบบเฉียบพลัน หรือมีอาการไม่เกิน 48 ชั่วโมง โดยความเย็นจะทำให้เส้นเลือดหดตัว และช่วยลดอาการบวมได้ เช่น อาการปวดบวม จากแมลงสัตว์กัดต่อย ฟกช้ำ กล้ามเนื้ออักเสบ เป็นต้น

2. เลือกตามส่วนผสมในสูตร 

น้ำมันนวดสมุนไพรมีหลากหลายสูตรให้เลือกใช้และมีส่วนผสมของสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการแก้อาการที่แตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปสามารถเลือกสูตรได้ ดังนี้

  • อาการปวดเมื่อยทั่วไป สามารถสูตรที่มีส่วนผสมของน้ำมันไพล น้ำมันเขียวหรือน้ำมันเสลดพังพอน 
  • อาการปวดหัว ปวดตึงกล้ามเนื้อจากความเครียด อาจเลือกสูตรที่มีส่วนผสมของน้ำมันไพล หรือน้ำมันงา 
  • อาการปวดตามข้อ เคล็ดขัดยอก อาจเลือกใช้ยาน้ำมันนวดที่มีส่วนผสมของน้ำมันระกำ หรือน้ำมันเสลดพังพอน
  • อาการปวด บวม คัน จากแมลงสัตว์กัดต่อย สามารถเลือกใช้ยาน้ำมันนวดสูตรน้ำมันงาหรือน้ำมันเขียวเสลดพังพอน เป็นต้น

นอกจากสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบหลักแล้ว ในน้ำมันนวดสมุนไพรยังมีส่วนประกอบอื่นๆ ที่ช่วยเสริมฤทธิ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงมีสารแต่งกลิ่นหอมจากธรรมชาติที่ช่วยบรรเทา

อาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ เมารถเมาเรือ และช่วยให้รู้สึกสดชื่นยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เกล็ดสะระแหน่ พิมเสน การบูร รวมถึงน้ำมันกานพลู และน้ำมันมะพร้าว โดยส่วนประกอบเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับแต่สูตรว่าเหมาะสำหรับการใช้งานในด้านใด 

4 สูตร น้ำมันนวดสมุนไพรยอดนิยมที่แนะนำ

น้ำมันนวดสมุนไพรสำหรับนวดคลายเส้นแต่ละสูตรต่างมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น ประโยชน์ในการบรรเทาอาการ การออกฤทธิ์ และกลิ่นหอมสมุนไพร โดยสามารถเลือกใช้ได้ตามสูตรที่ความต้องการ โดยสูตรยอดนิยมที่แนะนำมีอยู่ 4 แบบ ได้แก่

1. ยาน้ำมันเขียว ผสมเสลดพังพอน 

สูตรนี้เหมาะสำหรับใช้บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้เหน็บชา ตะคริว และใช้แก้พิษจากแมลงกัดต่อยได้ รวมถึงสามารถใช้สูดดมเพื่อบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หรือคัดจมูกจากหวัดได้ โดยน้ำมันเขียวสูตรนี้จะมีการผสมน้ำมันเสลดพังพอนตัวเมีย หรือที่เรียกกันว่า พญายอ ซึ่งเป็นสมุนไพรที่มีรสจืดเย็น ในทางการแพทย์แผนไทยถูกนำมาใช้เป็นยาทะลวงลมปราณ มีฤทธิ์ต้านพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ลดอาการคันและบวม เช่น แมงป่อง ตะขาบ ผึ้ง เป็นต้น

2. ยาน้ำมันเหลือง 

สูตรยาน้ำมันเหลืองที่มีส่วนผสมของน้ำมันมันงาที่มีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียและต้านการอักเสบ รวมถึงในสูตรอาจมีส่วนผสมของการบูร เกล็ดสะระแหน่ และพิมเสน จึงเหมาะสำหรับใช้บรรเทาอาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้อตึง หรือใช้สูดดมเพื่อบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ คัดจมูก รวมถึงลดอาการระคายผิวและพิษแมลงกัดต่อยได้อีกด้วย

3. ยาน้ำมันเหลือง สูตรไพล 

น้ำมันนวดในสูตรนี้จะมีส่วนผสมของไพล นิยมใช้บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ช่วยคลายกล้ามเนื้อ เส้นตึง เหน็บชา และลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ เช่น ข้อพลิก ข้อแพลง ฟกช้ำ เป็นต้น ซึ่งในไพลมีสารประกอบสำคัญหลายชนิด เช่น สารกลุ่มฟีนิลบิวทานอยด์ที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ ออกฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ช่วยสมานแผล ลดอาการปวด บวม หรือผื่นคันบนผิวหนัง นอกจากนี้ในตำรับ “ยาแก้ลมอัมพฤกษ์” ที่มีส่วนประกอบของไพลร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ยังมีฤทธิ์ในการช่วยบรรเทาอาการปวดตามเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ และเหน็บชาได้อีกด้วย

4. ยาน้ำมัน สูตรเลียงผา

ยาน้ำมันนวดสูตรเลียงผาที่ใช้ส่วนผสมหลักเป็นน้ำมันระกำ มักใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดภายนอก เช่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ หรืออาการปวดเกร็งตามร่างกายชนิดเฉียบพลันที่ไม่รุนแรง โดยในสูตรนี้มักมีส่วนประกอบสำคัญอื่น ๆ เช่น เกล็ดสะระแหน่และการบูร จะช่วยเสริมฤทธิ์ในการเป็นสารแก้ระคายที่มีฤทธิ์ร้อน เมื่อใช้ทาบริเวณผิวหนังแล้วจะทำให้เส้นเลือดบริเวณผิวหนังขยายตัว จึงทำใหรู้สึกอุ่นร้อนและรู้สึกปวดน้อยลง

วิธีใช้ยาน้ำมันนวดสมุนไพรให้ได้ประโยชน์

  • ก่อนใช้ยาน้ำมันนวดแนะนำให้ทำความสะอาดผิวบริเวณที่จะนวดให้สะอาด เพื่อขจัดสิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่บนผิวและช่วยให้ยาน้ำมันนวดสมุนไพรซึมลงสู่ผิวได้ดียิ่งขึ้น
  • ใช้ยาน้ำมันนวดในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากหรือน้อยเกินไป โดยหยดลงบนนิ้วหรือฝ่ามือและทาลงบริเวณผิวที่มีอาการให้ทั่วถึง
  • หากปวดตึง เช่น ขมับ คอ บ่า ไหล่ อาจใช้เทคนิคนวดกดจุดโดยใช้นิ้วมือกดเบาๆ บริเวณจุดที่รู้สึกปวด แต่หากมีอาการปวดอักเสบ หรือบริเวณที่มีอาการบวม ควรใช้วิธีนวดวนเบาๆ ให้ยาน้ำมันซึมลงสู่ผิวก็เพียงพอ
  • หากต้องการใช้ยาน้ำมันเพื่อนวดผ่อนคลาย อาจใช้ในช่วงเวลาที่ร่างกายผ่อนคลาย เช่น หลังอาบน้ำ หรือก่อนนอน เป็นต้น
  • นวดซ้ำ 2-3 ครั้งต่อวัน หรือเมื่อมีอาการปวด
  • ควรใช้ภายนอกร่างกาย หลีกเลี่ยงการใช้ยาน้ำมันนวดบริเวณที่มีบาดแผลเปิดและบริเวณดวงตา 
  • สามารถใช้สูดดมระหว่างวัน หรือเมื่อมีอาการวิงเวียน คลื่นไส้ หน้ามืด หรือเมารถเมาเรือระหว่างเดินทาง จะช่วยให้รู้สึกสดชื่นและผ่อนคลายความตึงเครียดได้ดี

จะเห็นได้ว่า การเลือกใช้ยาน้ำมันนวดสมุนไพรให้เหมาะสมถือว่ามีความสำคัญอยู่ไม่น้อย เพราะแต่ละสูตรจะมีส่วนผสมของสมุนไพรและตำรับยาที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการใช้งานที่แตกต่างกันด้วย นอกจากนี้การเลือกใช้ยาน้ำมันนวดสมุนไพรอย่างเหมาะสมย่อมได้รับประโยชน์สูงสุดจากสมุนไพรและช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ได้อย่างตรงจุด ตลอดจนกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละสูตรที่จะช่วยเพิ่มความพึงพอใจในการใช้ยานวดสมุนไพรได้มากยิ่งขึ้น

คลิกเลือกอ่านหัวข้อ
แบ่งปันสาระน่ารู้ทาง :

ผลิตภัณฑ์ของเรา

ยาหอมสมุนไพรเทพจิตรตราห้าม้าสรรพคุณแก้ลมบำรุงหัวใจ ขนาด 30 เม็ด
แก้ลม บำรุงหัวใจ

ยาหอมเทพจิตร ตราห้าม้า บรรจุ 30 เม็ด (24 หลอด/แพ็ค)

ยาดมสมุนไพรไทยตราแม่กุหลาบห้าม้าสรรพคุณแก้ลมวิงเวียน ขนาด 15 กรัม
แก้ลมวิงเวียน

ยาดมสมุนไพร ตราแม่กุหลาบห้าม้า ขนาด 15 กรัม

น้ำมันนวดสมุนไพรเสลดพังพอนตราแม่กุหลาบสรรพคุณบรรเทาแมลงกัดต่อย ขนาด 20 ซีซี
บรรเทาอาการแมลงกัดต่อย

ยาน้ำมันสมุนไพรผสมเสลดพังพอน ตราแม่กุหลาบ ขนาด 20 ซีซี

น้ำมันสมุนไพรเลียงผาตราแม่กุหลาบสรรพคุณคลายเส้น ขนาด 20 ซีซี
บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย

ยาน้ำมันสมุนไพรเลียงผา ตราแม่กุหลาบ ขนาด 20 ซีซี

สาระน่ารู้ที่น่าสนใจ

ทำความรู้จักไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) สารธรรมชาติจากพืชและสมุนไพร เพื่อประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้หญิง

5 ของฝากเพื่อสุขภาพ บำรุงร่างกายผู้ใหญ่ คุ้มค่าแถมมีประโยชน์

แชร์เทคนิค! คลายปวดเมื่อยง่าย ๆ ด้วยน้ำมันสมุนไพร